เวลาทำการ จ.-ศ. 09:00-17:00 น. เสาร์-อา 9.00 - 16.00 น.
การเป็นผู้ทำบัญชีที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น นอกจากจะต้องขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีให้เรียบร้อยกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ในทุกๆ ปี ผู้ทำบัญชีมีหน้าที่ต้องทำหลักๆ อยู่ 2 ประการ คือ 1. แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง (CPD) ทางวิชาชีพบัญชีประจำปี และ 2. ยืนยันรายชื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม
ผู้ทำบัญชี หากอบรม CPD ไม่ครบในปี 2563 ต้องรีบอบรมในปี 2564 ให้ครบถ้วนเพื่อชดเชย และแจ้งในเว็บสภาวิชาชีพบัญชี เช่น ปี 2563 ขาดอยู่ 6 ชั่วโมง ต้องอบรมในปี 2564 = 6 ชม. (ที่ขาดไป) + 12 ชม. (ประจำปี 64) = 18 ชม. ผู้สอบบัญชี ต้องทำ 2 ข้อได้แก่ 1. รีบอบรมชดเชยในปี 2564 ให้ครบ 2. ยื่นหนังสือชี้แจงเหตุพฤติการณ์ที่จำเป็นแก่สภาวิชาชีพบัญชี
เป็นที่ทราบกันดีว่าในทุกๆ ปีผู้สอบบัญชีต้องเก็บชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่องหรือชั่วโมง CPD ให้ครบ 40 ชั่วโมง แบ่งเป็นชั่วโมงเป็นทางการ 20 ชั่วโมง และชั่วโมงไม่เป็นทางการ 20 ชั่วโมง ในปี 2563 นี้ เป็นปีที่พิเศษสุดๆ เพราะทางสภาได้ อนุโลมให้นำชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพแบบที่ไม่เป็นทางการมาทดแทนแบบเป็นทางการได้ สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19
การทำบัญชีแบบที่ไม่ต้อง Key เอกสารนั้นมีอยู่จริง ด้วยเทคโนโลยี ที่เรียกว่า OCR (Optical Character Recognition) ซึ่งเราได้เคยพูดถึงเทคโนโลยีนี้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงในยุคดิจิทัล และในปัจจุบัน นักบัญชีในประเทศไทยก็จะได้ใช้งานเทคโนโลยีนี้กันแล้ว เพราะ FlowAccount ผู้ริเริ่มโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ทำให้ เทคโนโลยี OCR เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ด้วยโปรแกรมใหม่ที่เรียกว่า AutoKey โปรแกรมสแกนบิลและใบเสร็จออนไลน์นั่นเอง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทั้งจากผู้ประกอบการ และนักบัญชีเองนั้นมีมากมายหลากหลายคำถาม ในบทความนี้ เราได้สำรวจและรวบรวม 5 คำถามยอดฮิต พร้อมคำตอบมาให้เพื่อนๆ กันค่ะ คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ว่านั้น จะมีเรื่องอะไรบ้างลองไปดูกันค่ะ
หัวใจสำคัญสำหรับผู้ใช้งบการเงิน คือ การนำข้อมูลในงบการเงินไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์งบการเงินก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้เราตีความข้อมูลในงบการเงิน เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น การที่จะวิเคราะห์งบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องทำตามขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงินอย่างถูกต้อง
แฟ้มเอกสารทางบัญชี คือ แฟ้มสำหรับเก็บเอกสารสำคัญเกี่ยวข้องกับงานบัญชี ถ้าเรามีวิธีจัดแฟ้มเอกสารทางบัญชีที่ดี แฟ้มเหล่านี้จะเก็บรวบรวมและคัดแยกเอกสารไว้เป็นหมวดหมู่ และจะช่วยให้ง่ายต่อการลงบัญชี ง่ายต่อการค้นหา หยิบไปใช้ได้อย่างสะดวก
การเริ่มต้นจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดนั้น มี 8 ข้อเบื้องต้น หากเราพลาดข้อใดไปก็อาจโดนค่าปรับ เพราะฉะนั้น การทำบัญชีเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัท นอกจากนั้น การทำบัญชี ยังช่วยให้เรามองเห็นผลประกอบการ ตลอดจนฐานะทางการเงินอีกด้วย
การวิเคราะห์งบการเงิน ก็คือการใช้เครื่องมือหรือวิธีการต่าง ๆ มาพิจารณาข้อมูลทางการเงินในการประเมินผลการดำเนินงานและแนวโน้มของกิจการเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจ การวางแผน การควบคุม หรือช่วยพยากรณ์สถานการณ์ในอนาคตของกิจการ แล้วแต่ว่าผู้ใช้งบการเงินนั้นเป็นใคร
"ในช่วงวิกฤต Covid-19 ที่ผ่านมา Thai CPD at Home ได้ร่วมกับพรี่หนอม กูรูภาษีแห่ง TaxBugnoms ทำคอร์ส CPD ออนไลน์การกุศล ที่มีชื่อว่า “มาตรการภาษี New Normal” ขึ้นมา ในคอร์สนี้ พรี่หนอมอธิบายเกี่ยวกับ New Normal มีกระทบกับชีวิตเราอย่างไรบ้าง, มาตรการภาษี New Normal และการจัดการภาษีแบบ New Normal"
เก็บชั่วโมงอบรม CPD
แบบไม่เป็นทางการได้
Free
ในการทำงาน นักบัญชีมักเจอปัญหาเรื่องความเข้าใจไม่ตรงกับกับผู้ประกอบการอยู่เสมอ ตัวอย่างของรายการที่เรามักจะเข้าใจไม่ตรงกับผู้ประกอบการที่พบเจออยู่บ่อยๆ ก็คือ การจำแนกประเภทรายการ ระหว่างค่าใช้จ่ายกับสินทรัพย์นั่นเอง
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สิน
TFRS 16 สัญญาเช่า เป็นประเด็นที่สำคัญของการทำบัญชี เนื่องจากตัวมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มีผลบังคับใช้แทน TAS 17 เรื่องสัญญาเช่า และวันที่ถือปฏิบัติจะเริ่มต้นสำหรับกิจการที่มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
การทำบัญชีในยุค 2020 ไม่ใช่เรื่องง่าย มีมาตรฐานใหม่ๆ กฎหมายใหม่ๆ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ถ้าหากไม่อยากตกเทรนความรู้บัญชีและภาษีในยุค 5G แบบนี้ อย่าพลาด คอร์สอบรม CPD ออนไลน์ “ประเด็นร้อนบัญชีและภาษี”
การจัดประเภทต้นทุนสินค้ามีหลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่นักบัญชีมักจะสับสนเกี่ยวกับการจัดประเภท ทำให้การคำนวณต้นทุนสินค้านั้นคลาดเคลื่อนและไม่สะท้อนค่าใช้จ่ายที่แท้จริง
เมื่อเปิดกิจการขึ้นมา แน่นอนว่าต้องมีลูกจ้างหรือพนักงานเกิดขึ้น ปัญหาที่ตามมาของผู้ประกอบการ ก็คือ การคำนวณเงินเดือน ดังนั้น การใช้โปรแกรมคำนวณเงินเดือน ที่ใช้งานง่าย ราคาสบายกระเป๋านั้น จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ ที่นักบัญชีอย่างเราสามารถแนะนำได้
"บทความนี้เราจะมาถอดรหัส ผลกระทบ Covid-19 กับนักบัญชีกันว่า นักบัญชีทั่วโลกได้รับผลกระทบอะไรกันบ้าง และเราเรียนรู้อะไรจาก Covid-19 ทั้งนี้เพื่อเตรียมตัวรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอนอีกต่อไป"
"บัญชีและภาษีนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นของคู่กันกับธุรกิจ แต่รู้หรือไม่ว่าทั้งสองเรื่องนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง บทความนี้เราจะมาคุยกันถึงที่มาที่ไป และข้อแตกต่างที่ต้องเข้าใจกันระหว่างเรื่องบัญชีและภาษีกันค่ะ"
ในประเทศไทย มีกิจการมากถึงกว่า 90% ที่เป็นกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะหรือที่เรียกว่า NPAEs และกฎหมายกำหนดว่า การทำบัญชีต้องใช้มาตรฐานการรายงานการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) อาจจะเรียกกันว่ามาตรฐานชุดเล็ก หรือมาตรฐานฉบับย่อ
"ระบบบัญชีที่ดีจะต้องบันทึกธุรกรรมทางธุรกิจต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างครบถ้วนและเชื่อถือได้เพื่อนำไปจัดทำงบการเงิน ธุรกรรมทางธุรกิจล้วนมีผลกระทบต่อองค์ประกอบทางบัญชีไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของทุน รายได้หรือค่าใช้จ่าย "
ในการจัดทำงบการเงินนักบัญชีส่วนใหญ่สามารถทำได้อยู่แล้ว แต่ทำอย่างไรให้ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะบางทีเราอาจจะทำงบการเงินตามความเคยชิน ในขณะที่กฎเกณฑ์ และหลักการในการทำงบนั้นมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เรารู้สึกว่าถูกในอดีต อาจจะผิดในปัจจุบันก็เป็นได้
การบัญชีการเงินเป็นสาขาการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบการเงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (GAAP) งบการเงินที่จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อตอบสนองความต้องการทั่วไปของผู้ใช้ที่สนใจ
"เพื่อคลายข้อสงสัย ในบทความนี้ เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับเกณฑ์เงินสดกับเกณฑ์คงค้างกันว่า เกณฑ์เงินสดคืออะไรและเกณฑ์คงค้างคืออะไร และเวลาที่บันทึกบัญชีควรใช้เกณฑ์ไหนในการบันทึกบัญชี"
"ในยุคนี้การพัฒนาทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี ทำให้เกิดสาขาเฉพาะทางบัญชีที่หลากหลาย สาขาหรือประเภทบัญชีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ การบัญชีการเงิน การจัดการบัญชี, การบัญชีต้นทุน, การตรวจสอบบัญชี, ภาษีอากร, ระบบสารสนเทศทางการบัญชี, การบัญชีตามหลักความไว้วางใจ และการบัญชีนิติเวช "
"ผู้ทำบัญชี คือ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้ทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม"
กระบวนการบัญชีหรือวงจรบัญชี คือขั้นตอนในการรวบรวม การประมวลผลและการสื่อสารข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงการบันทึก การจำแนก การสรุปและการตีความข้อมูลทางการเงิน วงจรบัญชีไม่ได้จบเพียงแค่การนำเสนองบการเงิน แต่ยังมีอีกหลายขั้นตอนที่ต้องทำเพื่อเตรียมตัวสำหรับรอบบัญชีถัดไป
ผู้ที่จะเป็น CPA ต้องผ่านการทดสอบจากคณะกรรมการ ซึ่งอาจจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 75% หรือตามแต่เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดและต้องจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาบัญชี หรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง
คำถามสำคัญที่ผู้คนมักถามบ่อยคือ “อาชีพนักบัญชีเป็นอาชีพที่ดีไหม” ซึ่งคำถามเหล่านี้มักจะมาจาก วัยนักศึกษา และมีการถกเถียงกันในโลกออนไลน์เป็นประจำ ซึ่งแต่ละคนต่างมีคำตอบที่ต้องการในเส้นทางการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ในบทความนี้จะนำเสนอให้ทุกคนได้เห็นว่าอาชีพนักบัญชีนั้นดีอย่างไรค่ะ
ในแต่ละปี ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมีหน้าที่ที่จะต้องรักษาสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ซึ่งมีหลายขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการ เพื่อที่จะรักษาสถานภาพเอาไว้ สำหรับบทความนี้ เราได้นำขั้นตอนต่างๆ สำหรับผู้สอบบัญชีและผู้ทำบัญชี มาให้ได้สำรวจกันว่าสิ่งที่เราต้องทำก่อนสิ้นปี มีอะไรบ้างค่ะ
การเก็บชั่วโมง CPD แบบออนไลน์นั้นจะมีหลักเกณฑ์ในการเก็บชั่วโมงแตกต่างจากการอบรม สัมมนาแบบทั่วไปในโรงแรมเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีที่ไม่อยากเสียเวลาเดินทาง และต้องการอบรมบัญชีผ่านคอมพิวเตอร์และมือถืออยู่ที่บ้าน
"บทความนี้เราอยากแนะนำ 5 เคล็ดลับจัดการลูกค้าเหนียวหนี้และเทคนิคสร้างความสัมพันธ์ในการทำงาน พร้อมทั้งรับชำระเงินให้ตรงเวลาจากลูกค้ากันค่ะ "
สำนักงานบัญชีที่เติบโตและประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ ไม่เพียงแค่เดินตามหลังคู่แข่ง แต่จะต้องเป็นผู้นำตลาดด้วยแบรนด์ของตัวเอง บริษัทที่ประสบความสำเร็จได้นั้นต่างก็มีการสร้างประสบการณ์อย่างครอบคลุมทุกด้านที่หยั่งรากลึกในสิ่งที่แบรนด์มี
ลองมาดูในบทความนี้กันค่ะว่าข้อผิดพลาดของกิจการที่เราสามารถค้นเจอจากงบกระแสเงินสด 4 ข้อหลักๆ นั้น คืออะไรบ้าง และเราควรแนะนำเจ้าของกิจการให้รับมือกับสิ่งเหล่านั้นอย่างไรดี
เมื่อพูดถึงการทำบัญชีของธุรกิจขนาดเล็ก คนส่วนใหญ่จะคิดว่าเรื่องของภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่รู้หรือไม่ว่า การทำบัญชีในธุรกิจขนาดเล็กยังมีประโยชน์มากมายที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาและขยายธุรกิจได้ เรามีตัวอย่างสำคัญของรายงานการบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่เหล่านักบัญชีอย่างเราควรรู้มาฝากค่ะ
ผู้ทำบัญชีอีกหลายท่านที่อยากเริ่มต้นรับงานบัญชี freelance แต่ก็ยังมีความกลัวอยู่ รู้มั้ยคะว่า 3 สิ่งที่พวกเขากลัวคืออะไรบ้าง และเรามีวิธีแนะนำในการก้าวผ่านความกลัวนั้นได้อย่างไร ลองมาดูกันค่ะ
ในทุกๆ ปีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจำเป็นจะต้องยื่นงบการเงิน และนำส่งภาษีประจำปีแก่สรรพากรในรูปแบบ ภงด.50 นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะพยายามส่งงบให้ทัน Deadline เพียงใด แต่ทำยังไงมันก็ไม่ทันแล้วล่ะก็ ลองมาศึกษากันค่ะว่าค่าปรับที่เราต้องเสีย หากยื่นงบและภาษีล่าช้านั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง
หนึ่งในอาชีพที่นิสิตนักศึกษาสายบัญชีอย่างเราใฝ่ฝัน คงหนีไม่พ้น อาชีพผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือ CPA นั่นเอง แต่กว่าจะได้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตนั้น ไม่ได้ง่ายเลย นอกจากจะต้องผ่านการทดสอบที่เรียกได้ว่าหินสุดๆ ทั้ง 6 วิชาแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การเก็บชั่วโมงฝึกหัดงาน
ทางเลือกในการงื่นงบการเงินที่ดีที่สุดตอนนี้คงหนีไม่พ้นการงื่นงบการเงินแบบ DBD e-filing ผ่านเว็บไซด์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ปัญหาที่กวนใจสำหรับหลายๆ ท่านสำหรับระบบนี้ก็น่าจะเป็นการเลือก Taxonomy สำหรับงบการเงินหรือเรียกอีกอย่างว่า ""รหัสรายการทางบัญชี"" รวมทั้งการเลือกรูปแบบงบกำไรขาดทุนนั่นเอง
การยื่นงบการเงิน ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็อาจผิดพลาดได้เพราะสาเหตุหลายๆ ประการ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ทาง Thai CPD at Home จึงนำบทความสั้นๆ ที่เรารวบรวม "ข้อควรรู้" หรือสิ่งที่ต้องพึงระวัง เกี่ยวกับการยื่นงบการเงินมาให้ทุกท่านได้ศึกษากันค่ะ
การยื่นแบบรายชื่อผู้ถือหุ้นสำหรับบริษัทจำกัด หรือ ที่เราเรียกสั้นๆ กันว่า บอจ.5 นั้น เป็นเรื่องง่ายๆ ที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป บทความนี้เป็นบทความสั้นๆ ที่เรารวบรวม "ข้อควรรู้" หรือสิ่งที่ต้องพึงระวัง และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ สำหรับการยื่นแบบ บอจ.5 มาให้ทุกท่านได้ศึกษากันค่ะ
บางท่านเข้าใจผิดว่าแค่สมัครงานในตำแหน่งผู้ทำบัญชี หรือเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีก็จัดว่าเป็นผู้ทำบัญชีแล้ว ซึ่งความจริง ขั้นตอนการที่จะได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ทำบัญชีได้นั้น มีมากกว่านั้น บทความนี้เราจึงสรุปมาให้เกี่ยวกับขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีว่ามีกี่ขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่แค่ไหนก็ตาม ทุกบริษัทต่างต้องเจอกับช่วงเวลาสำคัญที่ต้องทำการตัดสินใจในเรื่องยาก ๆ และหนึ่งในนั้นคือการตัดสินใจที่จะยกเลิกสัญญากับลูกค้า และสำหรับบทความนี้ เรารวบรวม 3 เหตุผลสุดฮิตที่ควรบอกเลิกสัญญาลูกค้าทำบัญชีมาให้ลองอ่านดูเผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านค่ะ
สมัยนี้อะไรๆ ก็ออนไลน์กันหมดแล้ว ซึ่งรวมไปถึงระบบสมาชิกของสภาวิชาชีพบัญชี ที่พัฒนาให้พวกเราสามารถสมัครสมาชิกแบบออนไลน์ได้อย่างง่ายดายภายใน 5 นาที สำหรับบทความนี้ทางทีมงานจึงตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อแบ่งปันความรู้วิธีการในการสมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีแบบสามัญ ด้วย 5 ขั้นตอนง่ายๆ กันค่ะ
ผู้สอบบัญชีที่ประสบความสำเร็จนั้นไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุดเสมอไปเพราะคนที่เก่งที่สุดอาจจะไม่ใช่คนที่ทำเงินได้มากที่สุดก็เป็นได้ แล้วอะไรล่ะคือเคล็ดลับของความสำเร็จของผู้สอบบัญชี? Anthony Glomski ผู้ก่อตั้ง AG Asset Advisory มี 3 เคล็ดลับที่กล่าวไว้ ลองมาดูกันค่ะ ว่าเคล็ดลับเงินล้านที่ว่ามีอะไรกันบ้าง
ถึงแม้ว่าการเปิดสำนักงานบัญชีจะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ทำเงินได้มาก แต่ยังคงมีสำนักงานบัญชีหลายแห่งที่พลาด “ตกหลุมพราง” ในวงการนี้ ดังนั้น เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจนี้ เรามาเรียนรู้กันค่ะว่าข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับสำนักงานบัญชีมือใหม่ 7 ประการนั้นมีอะไรกันบ้าง
หากท่านใดยังนึกไม่ออกว่าปี 2019 นี้ควรจะตั้งปณิธานเรื่องใดบ้างในแง่ของการงานด้านบัญชีที่เรารับผิดชอบดูแลอยู่ บทความนี้ เราได้รวบรวม New Year Resolution สำหรับผู้ทำบัญชีที่จะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และสบายมากขึ้นมาฝากกันนะคะ
ก่อนจะหมดปีนี้ไป ผู้ทำบัญชีอย่าลืมลองสำรวจตัวเองกันนะคะ ว่ามีงานใดที่คั่งค้าง ต้องเคลียร์หรือสะสางให้เสร็จหรือเปล่า สำหรับบทความนี้ เราได้รวบรวมหก Check-list ก่อนปิดสิ้นปี ที่ผู้ทำบัญชีควรทำให้เรียบร้อย มาให้ลองสำรวจตัวเองกันค่ะ ว่าในปีนี้สิ่งที่สำคัญๆ ที่เราควรทำให้เสร็จมีอะไรบ้าง
ไม่ว่าธุรกิจไหนๆ ก็ต้องการรักษาลูกค้าให้ยั่งยืนและมองหาวิธีการสร้างรายได้ใหม่ๆ การสร้างความแตกต่างและขยายบริการเสริมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสำนักงานบัญชี ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ มาดูกันค่ะว่า 7 บริการเสริมที่ทำให้สำนักงานบัญชีดึงดูดลูกค้าได้นั้นมีอะไรบ้าง
สำนักงานบัญชี ต้องเป็นได้ทั้งผู้ทำบัญชีและผู้ยื่นภาษี แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วลูกค้าต้องการอะไรมากกว่านั้นจากงานของเรา ลองมาดูกันค่ะว่าจริงๆ แล้วลูกค้าต้องการอะไรจากเรากันบ้าง นอกเหนือจากการให้บริการด้านบัญชี
สำหรับท่านที่กำลังมองหาหลักสูตรอบรม CPD อยู่ ก่อนที่จะสมัครเข้าอบรม อย่าลืมตรวจสอบหลักสูตรให้ดีๆ ว่าหลักสูตรที่กำลังจะอบรมนั้นเป็นหลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติให้เก็บชั่วโมง CPD ได้แน่นอน 100% เพราะว่าหากหลักสูตรนั้นไม่ได้รับการรับรอง ท่านอาจจะเสียทั้งเวลาและเงินค่าสมัครอบรมไปอย่างน่าเสียดายนะคะ
ในบทความนี้เรารวบรวม Red Flag สุดฮิตที่อาจจะเป็นสัญญาณบอกเหตุการณ์ทุจริตมาให้ทุกท่านลองสำรวจดูค่ะ Red Flag หรือธงแดงบอกเหตุนี้ อาจจะทำให้เราสามารถตรวจจับความผิดปกติได้เร็วขึ้นและรับมือแก้ไขได้ทันท่วงที
ผู้ทำบัญชีหลายๆ ท่านมักจะประสบปัญหาว่าเราควรจะบันทึกรับรู้รายได้เมื่อไร สำหรับ Incoterms แต่ละแบบ แม้กระทั่งผู้สอบบัญชีก็ยังสับสนเกี่ยวกับจุดในการรับรู้รายได้เนื่องจากการส่งออกอยู่เสมอๆ เช่นกัน ทีนี้ถามว่าการรับรู้รายได้ตามหลักการบัญชีและ Incoterms นั้นมีความเกี่ยวพันกันอย่างไร เราลองมาดูกันค่ะ
“เก็บชั่วโมง CPD ไม่ครบ ต้องทำอย่างไร?” คำถามนี้ เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตที่ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีหลายๆ ท่านมักจะสอบถามเข้ามาผ่านทางเว็บไซด์ของเรา ใครที่ประสบพบเจอปัญหานี้อย่าเพิ่งเป็นกังวลไปนะคะ บทความนี้เราจึงหยิบยกเรื่องนี้มาอธิบายพร้อมทั้งแนะนำวิธีการแก้ปัญหานี้กันค่ะ
ก่อนที่ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีจะเริ่มอบรม CPD ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซด์นั้น เรามีข้อควรรู้เล็กๆ น้อยๆ ให้ลองศึกษากันดูค่ะว่าเรามีคุณสมบัติพร้อมที่จะอบรมเก็บชั่วโมง CPD กันแล้วหรือยัง เพราะถ้ายังท่านก็อาจจะเสียเวลาและเสียเงินอบรมฟรีๆ โดยที่ไม่สามารถเก็บชั่วโมงได้นะคะ
บทความนี้เรารวบรวม 7 สิ่งที่นักบัญชีควรทำหลัง Busy Season มาให้ทุกท่าน ทำงานเพื่อคนอื่นมาเยอะแล้ว หลัง Busy season ลองกลับมาทำอะไรเพื่อตัวเองกันบ้างนะคะ
การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องสำหรับผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า การเก็บชั่วโมง CPD นั้น เป็น A-Must ที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี เมื่ออบรมพัฒนาความรู้เรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องไม่ลืมก็คือ การแจ้งพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง CPD กับสภาวิชาชีพบัญชี
สำหรับบทความนี้เราลองมาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าข้อผิดพลาดสุดฮิตที่พบในกระดาษทำการทั่วโลกนั้นคืออะไรบ้าง เผื่อจะได้นำไปตรวจเช็คกับกระดาษทำการที่พวกเราทำๆ กันอยู่ และปรับปรุงให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมกันค่ะ
ถ้าทุกวันนี้เรายังทำงานเดิมๆ คือ ทำบัญชีและยื่นภาษีแบบเดิมๆ ที่ใครๆ เค้าทำกันจะมาคิดค่าตัวแพงๆ ก็คงทำไม่ได้ จริงมั้ยคะ เราอาจจะต้องเพิ่มความพยายามเข้าไปอีกสักหน่อย ซึ่งเรียกว่า “การเพิ่มมูลค่า” ให้กับงานของเรา เคล็ดไม่ลับการอัพค่าตัวนักบัญชี 5 ข้อง่ายๆ นั้นมีอะไรกันบ้าง เราลองมากันค่ะ
“จริงหรือที่นักบัญชีจะถูกหุ่นยนต์แทนที่?” นักบัญชีจะถูกหุ่นยนต์แทนที่ได้อย่างไร? ไม่รู้หรอว่านักบัญชีเนี่ย ใครๆ ก็บอกว่าเป็นอาชีพที่ไม่ตกงานอย่างแน่นอน แม้ว่าบริษัทจะเลิกกิจการ เราก็จะเป็นคนสุดท้ายที่เค้าเลิกจ้างเชียวนะจะบอกให้
3 เหตุผลที่นักบัญชีชอบในงานนี้ คืออะไร?? “เป็นนักบัญชีก็ต้องชอบทำงานกับตัวเลขแน่ๆ เลย” นี่คงเป็นคำทักทายแรกๆ จากเพื่อนๆ เมื่อเขารู้ว่าเราเป็นนักบัญชี แต่หารู้ไม่ นักบัญชีอย่างเราไม่ได้ชอบทำงานกับตัวเลขซักเท่าไรนัก แถมยังคำนวณไม่ค่อยเก่งอีกด้วย (เพราะเราพึ่งเครื่องคิดเลขตลอดๆ)
วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคง่ายๆ สำหรับการเก็บชั่วโมง CPD แบบไม่เป็นทางการกันว่ามีกิจกรรมไหนที่น่าสนใจและช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าเราได้บ้าง
แม้ว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสร็จสู่สวรรคาลัยไปแล้ว แต่ทว่าคำสอนของพระองค์ก็ยังคงอยู่และเป็นที่ยึดเหนี่ยวของพวกเราชาวไทยให้น้อมนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต จะดีมั้ยถ้าเราสามารถประยุกต์ใช้คำสอนนั้นกับการทำงานในอาชีพนักบัญชี หรือสาขาวิชาชีพบัญชีของพวกเราได้บ้าง
กว่าจะสอบ CPA ได้ก็เลือดตาแทบกระเด็น แต่เมื่อสอบ CPA ผ่านแล้วการที่จะอยู่ในอาชีพผู้สอบบัญชีนี้ให้ได้ หลายๆ คนบ่นว่ายากยิ่งกว่าการสอบ CPA ซะอีก เพราะว่าความรู้ที่ต้องมีแล้ว ทักษะความสามารถด้านอื่นๆ ก็จะต้องมีเช่นกัน 7 ทักษะที่ผู้สอบบัญชีต้องมีนั่นคือ...........
ทำไมวิชาชีพบัญชีอย่างเราจำเป็นต้องอบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “CPD” ด้วยนะ จริงๆ แล้วสาเหตุหลัก ที่เราต้องอบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่องหรือ CPD เป็นประจำทุกๆ ปีนั้นก็เป็นเพราะมีข้อบังคับให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องอบรมพัฒนาความรู้อย่างน้อยตามนี้
หลายๆ คนเข้าใจว่านักบัญชีแค่เรียนจบด้านบัญชีมาก็สามารถเป็นได้ แต่ทว่าการเป็นนักบัญชีกับการเป็นนักบัญชีมืออาชีพนั้นแตกต่างกัน หากใครสามารถก้าวข้ามไปเป็นนักบัญชีมืออาชีพได้ พวกเค้าเหล่านั้นก็น่าจะอยู่ใกล้ความสำเร็จในสายงานวิชาชีพนี้อย่างแน่นอน แล้วคุณสมบัติที่นักบัญชีมืออาชีพควรมี คืออะไรบ้างล่ะ?